วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทความ การเผยแพร่ภาพพระบรมฉายาลักษณ์

บทความ การเผยแพร่ภาพพระบรมฉายาลักษณ์
การนำพระบรมฉายาลักษณ์ มาเผยแพร่ โดยไม่ได้รับการขออนุญาตอย่างถูกต้องนั้น
๑. การนำมาเผยแพร่
การนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ มาเผยแพร่นั้น ต้องได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องในทุกกรณี ไม่ว่าภาพนั้นจะถ่ายโดยใคร หรือสำนักข่าวองค์กรใด
การขออนุญาต และบางกรณี อาจจะเป็นพระบรมราชานุญาต หรือพระราชานุญาต ตามลำดับนั้น อยู่ในการจัดการของ สำนักราชเลขาธิการ ซึ่งขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีโดยตำแหน่ง
ทุกท่านสามารถทำเรื่องขอได้
การพิจารณา ก็มีเป็นไปตามลำดับชั้น การจะให้หรือไม่ให้ หรือพระราชทาน หรือไม่พระราชทาน นั้นแล้วแต่ความสมควร
ไม่มีการรับรองว่าขอแล้วต้องได้
แต่ที่ผ่านมาก็ปรากฏว่ามีการปฏิเสธน้อยครั้งมาก ถ้า ไม่ได้เป็นไปเพื่อ การค้า, การหาเสียง ,การแอบอ้างอื่นๆ
โดยทั่วไปการถ่ายภาพนั้นภาพย่อมเป็นของผู้ถ่ายหรือของต้นสังกัด แล้วแต่ตกลงกัน
แต่กรณีภาพพระบรมฉายาลักษณ์นี้ การได้รับอนุญาตให้ถ่าย กับการนำลงเผยแพร่ เป็นอีกกรณี
ไม่ใช่ว่าได้รับอนุญาตให้ถ่าย แล้วจะนำไปเผยแพร่ได้ตามใจชอบ
กรณี สำนักข่าวต่างๆ
สำนักพิมพ์ต่างๆจะมีกรอบในการปฏิบัติ กำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าภาพใดบังควร หรือมิบังควร ซึ่งจะมีระเบียบปฏิบัติที่ต่างๆ ไป จาก
งานของช่างภาพอิสระ และ/หรือต้นสังกัดที่จะมารับงานในแต่ละครั้งเป็นกาลสมัย ซึ่งต้องขออนุญาตเป็นกรณีเฉพาะนั้นๆ
หรือเป็นงานพิธี / รัฐพิธีใด ที่บางต้นสังกัดเป็นเจ้าของงาน ก็เป็นที่ได้รับอนุญาตโดยอนุโลม แต่การตรวจสอบกล้องการระบุตัวของช่างภาพ รวมถึง
การนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ลงเผยแพร่ก็ย่อมอยู่ในเกณฑ์ปฏิบัติเดียวกัน
กรณี ภาพข่าว ประจำวัน ที่ลงภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ นั้น ถือเป็นการรายงานข่าว ไม่ต้องขออนุญาต อีกครั้ง
อยู่ในดุลยพินิจของแต่ละสำนักพิมพ์ ต้นสังกัด/องค์กร ที่จะลงภาพข่าวอย่างสมพระเกียรติ
แต่ก่อนไปทำภาพข่าว จะมีการตรวจสอบอุปกรณ์ บุคคลที่จะถ่ายที่แต่ละสำนักส่งไป มีการกำหนดจุดที่ให้ถ่าย และภาพนั้นจะเป็นของ สำนักข่าวจะไม่ใช่ ของบุคคลนั้น
เพราะการอนุญาตเป็นการอนุญาตแก่องค์กร ยกเว้นได้รับอนุญาตส่วนตัว เป็นกรณีเฉพาะ หรือต้นสังกัด /องค์กร มีข้อตกลงกับผู้ถ่าย
แต่โดยรวม การนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ไปใช้ในงานส่วนตัวนั้น
ก็ ย่อมต้องขออนุญาตอีกเช่นกัน ในสำนักพิมพ์บางแห่ง ไม่อนุญาตให้มีการใช้ภาพขององค์กร ในงานส่วนตัวใดๆ ของผู้ถ่ายเลย
และ ถือเป็นความผิดร้ายแรง ภายในองค์กรแห่งนั้นๆด้วย
อันนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละองค์กร ที่บางแห่งอาจอนุโลม อนุญาต ก็เป็นไปได้
อย่างไรก็ตาม อาจมีผู้สงสัยว่า หนังสือ นิตยสาร บางฉบับ
หรือทาง กทม. ที่มีการนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ขึ้นปก หรือนำติดไว้ตามที่ต่างๆนั้น ทำได้อย่างไร
ทางเจ้าหน้าที่ของสำนักราชเลขาธิการ ได้ ให้ข้อมูลว่า ได้มีการขออนุญาต อย่างถูกต้อง ในทุกครั้ง
นิตยสารบางฉบับขออนุญาต (และบางครั้งได้รับเป็นพระบรมราชานุญาต แล้วแต่กรณี ) ในทั้งปีเลย ก็มี
กรณีไม่ใช่ภาพข่าวประจำวัน เช่นการลงปกนิตยสาร ที่เป็นกาลสมัยเฉพาะ เช่นวันสำคัญต่างๆ ต้องขออนุญาต เป็นการเฉพาะนั้นๆ ทุกครั้ง
การลงภาพพระกรณียกิจ จากสำนักพิมพ์ต่างๆ ไม่จำต้องขออีก แต่ความสมควรในการนำเสนอภาพอยู่ในความรับผิดชอบของ บก
๒. ความผิด
การนำมาเผยแพร่และมีความผิดนั้น สำนักราชเลขาธิการ จะพิจารณา หลักสำคัญดังนี้
-เพื่อการค้า หรือมีผลประโยชน์ที่ไม่ได้รับการอนุญาตถูกต้อง
-เพื่อการหาเสียง หรืออวดอ้างอย่างอื่นๆ
-การนำไปสู่การดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
-อื่นๆ
จะเห็นได้ว่า มีช่องว่างในปฏิบัติอยู่ เช่น ที่มีการกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น
และมีการเผยแพร่กันไป แต่ยังไม่เข้าข่ายความผิดใหญ่ๆ สามประการนั้น
และ ถ้าทำไปอย่างสมควร เพื่อเทิดทูน หรือเพื่อการแสดงถึงความจงรักภักดี และมีการจัดวางอย่างสมควร แล้ว ก็คงไม่มีการดำเนินการใด
จึงอาจจัดว่า เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง คือไม่ขออนุญาต แต่ก็ไม่ใช่การกระทำที่ไม่บังควร
ตัวอย่างเช่น การทำหน้าเว็บพิเศษ เพื่อแสดงถึงความเทิดทูน พระองค์ท่านเป็นต้น
อาจไม่ได้ขออนุญาต อย่างถูกต้อง แต่ก็แสดงถึงเจตนาแห่งความจงรักภักดี
อย่างนี้ ถึงจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ได้ทำเรื่องให้ถูกต้อง ก็มักจะไม่มีการดำเนินการใด ถ้าลงภาพอย่างสมพระเกียรติ
ภาพที่ไม่สมควร
ได้แก่ ภาพในบางพระอิริยาบถต่างๆ การทำเอฟเฟค ต่างๆ ในพระบรมฉายาลักษณ์ การแต่งภาพต่างๆ ซึ่งต้องมีการอนุญาตเป็นการเฉพาะ
การเขียน ตัวอักษร หรือตัวหนังสือใดๆ ลงในพระบรมฉายาลักษณ์ โดยไม่สมควร
เช่น การลงชื่อว่าภาพถ่ายโดยใครลงในพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง
เพราะอาจมองได้ว่า เป็นการโอ้อวดได้
แต่การเขียนบรรยาย การกรองใช้ถ้อยคำอื่นๆ อาจกระทำได้ ตามสมควร
อย่างไรก็ตามทั้งหมดอยู่ในดุลยพินิจ ของผู้นำลงเผยแพร่
ซึ่งแต่ละครั้ง อาจได้รับการพิจารณาจากสำนักราชเลขาธิการได้แตกต่างกันไป
(การเขียน ชื่อผู้ถ่ายลงในกรอบ ที่อยู่นอกภาพ ไม่ถือว่า ผิด
แต่ทางเจ้าหน้าที่สำนักราชเลขาธิการ พิจารณาว่าไม่น่าจะสมควร ควรที่จะลงชื่อผู้ถ่าย ไว้
เป็นข้อความต่างหาก เบื้องล่างลงมา
ไม่รวมอยู่ในบริเวณนั้น แต่ย้ำว่า ไม่นับเป็นความผิดอะไร
อยู่ที่ดุลยพินิจ )
การถ่ายภาพพระองค์ท่าน จากเลนส์ขยายกำลังสูง ก็อาจกระทำได้
แต่การนำภาพลง นั้น และหรือ พิจารณาว่ามุมภาพเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม นั้น
ก็รวมพิจารณาในหลักการเดียวกันข้างต้น
เช่นแม้ อยู่ในเขตที่กำหนด ให้ถ่ายได้มุมภาพ ที่กำหนด แต่ ได้บาง พระอิริยาบถ ก็ไม่บังควรเช่นกัน
ดังนั้น การพิจารณานั้น ทางสำนักราชเลขาธิการจะ ดูหลายๆอย่าง แต่ที่สำคัญ ดูที่เจตนาเป็นหลัก
การละเมิด
ดูที่เจตนาของผู้กระทำ ก็ทราบได้โดยง่ายแล้ว ว่าจงใจ ละเมิด หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ก. การขายภาพ
การทำเพื่อการค้านั้น ผิดชัดเจน
(ที่ถูกคือต้องขอก่อน และ มีการผลประโยชน์ที่ได้ ไปใช้ในทางที่ควร สามารถตรวจสอบได้)
แต่การเอาผิดนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือต้องมีองค์ประกอบความผิดชัดแจ้ง
เช่นการนำภาพในหลวง ออกมาใส่กรอบขาย อย่างนี้ไม่สมควร อย่างแน่นอน
แต่ในความเป็นจริง มีการอ้างข้อกม. เพื่อ หนีความผิด
คือ อ้างว่า ขายกรอบ ส่วนภาพพระบรมฉายาลักษณ์นั้นไม่ได้ขาย
ซึ่งรู้ทั้งรู้ แต่ ด้วยความกรุณาต่อพสกนิกร อันล้นพ้นของพระองค์ท่าน
ทางสำนักราชเลขาธิการก็ คงไม่ดำเนินการต่อ
คือมองได้หลายแง่ ในเรื่องละเอียดอ่อนเช่นนี้ .........
ข. การทำเพื่อเทิดทูน แสดงความจงรักภักดี โดยจัดเป็นหน้าพิเศษ ตามเว็บต่างๆ หรือตามนิตยสารต่างๆ
ผิดแน่นอน แต่ ถ้ากระทำอย่างสมควรอย่างที่กล่าวข้างต้น ทางเจ้าหน้าที่ก็คงไม่ดำเนินการใด
ข้อระวัง
ภาพที่ได้มานั้น อาจมีคำว่า ภาพพระราชทาน หรือโดยพระบรมราชานุญาต ติดมา
ตรงนี้ถ้า ติดคำนี้มา จะเป็นคดีอาญา ที่มีโทษรุนแรง เพราะ มิได้รับอนุญาต ตามคำนั้นๆ
ดังนั้น ตรงนี้ ผู้ดูแลเว็บหลายๆแห่ง และนิตยสารต่างๆ ควรคำนึง
ค. ประเด็น มีผู้ถาม เรื่องการเผยแพร่ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ทางอีเมล์
เป็นการส่งในทางส่วนตัว ถ้าภาพนั้นไม่แพร่ไปทางสาธารณะ
และเป็นภาพที่ไม่สมควร ( กล่าวข้างต้นแล้ว) ก็ไม่มีความผิดอะไร แต่ถ้าผู้รับ เห็นว่าไม่สมควรสามารถแจ้งเจ้าพนักงานตาม กม. ได้
ซึ่งก็จะพิจารณาไปตามที่กล่าวมาข้างต้น
ย้ำว่า ไม่ใช่ว่า พิจารณา ว่าภาพนั้นๆ ถ่ายโดยรับอนุญาต หรือไม่อย่างเดียว
แต่พิจารณารวมไปถึง การได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ได้ ด้วย เป็นหลัก
และถึงได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ได้ แต่ความสมควรของภาพนั้นๆ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
การพิจารณา จึงต้องใช้ดุลยพินิจในหลายๆด้านอย่างมาก