วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรื่อง การตรวจค้นและการจับกุม...ร้านเกมส์ ร้านอินเตอร์เน็ต ควรทำอย่างไร !

บทความเรื่อง การตรวจค้นและการจับกุมของพวกรีดไถลิกขสิทธิ์ ร้านเกมส์ ร้านอินเตอร์เน็ต ควรทำอย่างไร !
ข้อกฎหมาย
หลักการค้นและการจับที่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ร้านเกมส์เอาไว้ป้องกันตนเองจากพวกรใช้เงินซื้อให้เป็นตัวแทน รับมอบอำนาจเรื่อง การละเมิดลิขสิทธิ์ มารีดไถหรือขู่กรรโชก กับผู้ประกอบการที่ไม่รู้ข้อกฎหมาย ถือว่า เป็นพวกกาฝากสังคม
การค้น มี  1.ค้นในที่รโหฐาน  2.ค้นตัวบุคคล 
การค้นในที่รโหฐาน กรณีที่ต้องมีหมายค้น ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ม.238 และป.วิ อาญามาตรา 57 หมายค้นออกได้โดยศาลเท่านั้น
ที่รโหฐาน หมายถึง ที่ต่างๆซึ่งไม่ใช่ที่สาธารณสถาน  คือสถานที่ใดๆที่ประชาชนไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้เช่น เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย ฯ ป.อาญา มาตรา 1(4)
การหากค้นที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น และไม่เข้าข้อยกเว้น เจ้าพนักงานที่ทำการค้นอาจมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามป.อาญามาตรา 157 และผิดฐานบุกรุกด้วย
การค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้น ทำได้ในกรณีดังนี้ ป.วิอาญามาตรา 92 (1)-(5)
(1)เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน
(2)เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้าซึ่งกระทำลงในที่รโหฐาน
(3)เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น
(4)เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในน้นและหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งขิงนั้นจะถูกโยกย้ายไปเสียก่อน
(5)เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับตามมาตรา 78
การค้นในที่รโหฐานต้องทำกลางวัน คือระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก เว้นแต่ ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อเวลากลางคืนก็ได้
ผลของการค้นโดยมิชอบ ผลในทางกฎหมายอาญา
1.ผู้จะถูกค้นต่อสู้หรือขัดขวางการค้น ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและทำร้ายร่างกาย (ฎีกาที่ 575/2483,244/2491,1035/2536)
ฎีกาที่1036/2536 .....เมื่อผู้เสียหายกับพวกเข้าจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายค้นจึงเป็นการจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงชอบที่จะป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการจับกุมโดยไม่ชอบเช่นนี้ได้ หากจำเลยต่อยผู้เสียหายก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ และไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และทำร้ายร่างกาย
2.เจ้าพนักงานที่ทำการค้นอาจมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามป.อาญามาตรา 157 และผิดฐานบุกรุกด้วย
ผลในทางกฎหมายแพ่ง
ผู้ค้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการกระทำละเมิดตามปพพ.มาตรา 420,438 (ฎีกาที่ 6301/2541)
ผลในทางกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
1.ของกลางที่ได้ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ตามมาตรา 226 เพราะถือว่าได้มาโดยมิชอบ
2.การค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้การจับไม่ชอบตามไปด้วย (แม้จะจับตามหมายจับ) (ฎีกาที่ 1035/2536) แต่การค้นและการจับที่ไม่ชอบไม่ทำให้การสอบสวนและการฟ้องของอัยการเสียไป (ฎีกาที่ 495/2500,2699/2516)
วิเคราะห์
1.ร้านเกมส์ในเวลาที่เปิดให้บริการจึงเป็นสาธารณสถาน ไม่ต้องมีหมายค้น แต่ถ้าเป็นเวลาปิดทำการต้องมีหมายค้น
2.อาจจะมีผู้เห็นแย้งว่า ถ้าร้านเกมส์มีชั้นที่ 2 ใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย จะต้องมีหมายค้น(ดูฎีกาที่605/2521 ที่เขียนไว้ข้างบน)ในเวลาที่ร้านเปิดทำการควรต้องแยกร้านออกเป็น 2 ส่วน ส่วนชั้นล่างที่เป็นร้านเกมส์ ถือเป็นสาธารณสถานเพราะประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปเล่นเกมส์ได้ ไม่ต้องมีหมาย ส่วนชั้นบน รวมทั้งชั้นล่างที่ทำครัวหรือรับประทานอาหารถือเป็นเขตที่อยู่อาศัย เป็นที่รโหฐานต้องมีหมายค้น(เพราะฉะนั้นตำรวจจะเข้าไปหลังร้านหรือชั้นบนเพื่อค้นหาแผ่นเกมส์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยไม่มีหมายค้นไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนเข้าไป เราต่อสู้ขัดขวางได้ ถ้าทำพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิด)
การจับ
จะอธิบายเฉพาะที่เกี่ยวกับร้านเกมส์ ถ้าจับในที่รโหฐานต้องมีทั้งหมายจับและหมายค้น 
เว้นแต่เข้าข้อยกเว้น
การจับโดยไม่มีหมายจับ ป.วิอาญา มาตรา 78 ,65,117 ให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือบุคคลอื่นมีอำนาจจับบุคคลโดยไม่มีหมายจับได้ ดังนี้
1.เมื่อได้กระทำความผิดซึ่งหน้า (ตามมาตรา 80)
2.เมื่อพบบุคคลนั้นกำลังพยายามกระทำความผิด หรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะกระทำความผิดฯ
3.เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี
4.เมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิด และแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว
5.ตามมาตรา 65 (ไม่เกี่ยวกับร้านเกมส์)
6.กรณีนายประกันจับตามมาตรา 117
ความผิดซึ่งหน้า หมายถึงความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำความผิดมาแล้วสดๆ
อำนาจจับของราษฎร  ข้อกฎหมายราษฎรไม่มีอำนาจจับ
ข้อยกเว้น....ให้ราษฎรมีอำนาจจับได้ ดังนี้
1.เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้าตามม.80 และความผิดซึ่งหน้านั้นต้องได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย (ป.วิอาญาม.79) ได้แก่
1.1ความผิดฐานประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล ป.อาญา ม.79 และ 99
1.2ความผิดฐาขบถ ม.101-104
1.3ความผิดฐานขบถนอกราชอาณาจักร ม.105-111
1.4ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ ม.112
1.5ความผิดฐานทำอันตรายแก่ธงหรือเครื่องหมายของต่างประเทศ ม.115
1.6ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ม.119-122 และ 127
1.7ความผิดฐานหลบหนีจากที่คุมขัง ม.163-166
1.8ความผิดต่อศาสนา ม.172,173
1.9ความผิดฐานก่อการจราจล ม.183,184
1.10ความผิดฐานกระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน ม.185-194 ,196,197 และ199
1.11ฐานปลอมแปลงเงินตรา ม.202-205 , 210
1.12ฐานข่มขืนกระทำชำเรา ม.243-246
1.13ฐานประทุษร้ายแก่ชีวิต ม.249,251
1.14ฐานประทุษร้ายแก่ร่างกาย ม.254-257
1.15ฐานกระทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ ม.268,270 ,276
1.16ฐานลักทรัพย์ ม.288-296
1.17ฐานวิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และโจรสลัด ม.297-302
1.18ฐานกรรโชก ม.303
2.เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับขอความช่วยเหลือให้จับ (ป.วิอาญาม.82)
ข้อสังเกต ถ้าไม่ใช่กรณีเจ้าพนักงานจัดการตามหมายจับ ราษฎรก็ไม่มีอำนาจจับ
ตัวอย่างเช่น ราษฎรจอมรีดไถมาจับร้านเกมส์แม้จะมาจับพร้อมตำรวจและตำรวจเรียกให้ช่วยจับ ตัวราษฎรก็ไม่มีอำนาจจับแม้จะเป็นความผิดซึ่งหน้า และตำรวจเรียกให้จับ เพราะความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าตามที่ระบุไว้ในท้ายป.วิอาญา(ดูที่ผมเขียนไว้ข้างบน ข้อ1.1-1.18 ) และตำรวจทีมาจับร้านเกมส์ไม่มีหมายจับ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะทำให้ราษฎรมีอำนาจจับ
แต่อย่างไรก็ตาม ราษฎรไม่มีอำนาจจับในที่รโหฐานแม้ว่ากำลังพบเห็นความผิดซึ่งหน้าและเป็นความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลฯ
ผลของการจับโดยไม่ชอบ
กรณีตำรวจ
1.ผู้ถูกจับอ้างป้องกันได้ ไม่ผิดฐานต่อสู้ขัดขวาง/ทำร้ายร่างกาย
2.ตำรวจมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตามป.อาญา ม.310
3.ตำรวจมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกจับ ป.อาญาม.157
4.ตำรวจต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการทำละเมิดตามป.พ.พ.ม.420,438
5.การจับโดยไม่ชอบทำให้การคุมขังต่อเนื่องจากการจับนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหมายตามไปด้วย ผู้ถูกคุมขังยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยตัวได้ ตามรัฐธรรมนูญม.240 และป.วิอาญาม.90 (ฎีกาที่ 466/2541)
กรณีราษฎรจับโดยไม่ชอบ
1.ผู้จะถูกจับโต้ตอบกลับมาโดยอ้างป้องกัน ตามป.อาญามาตรา 68 ได้ (ฎีกาที่ 2353/2530)
2.ราษฎรผิดฐานทำให้ผู้อื่นเสียเสรีภาพตาม ป.อาญามาตรา 310
3.ผู้ที่ต่อสู้ขัดขวางการจับโดยไม่ชอบของราษฎรนั้น ไม่มีความผิดตามป.อาญามาตรา 138 เพราะการที่จะผิดตาม ม.138 ต้องเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงาน หรือ"ผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฎิบัติหน้าที่" ซึ่งหมายความว่า "ผู้ซึ่งต้องช่วยนั้น"ต้องมีอำนาจในการจับก่อน
ตรงนี้สำคัญ ตำรวจไม่มีอำนาจจับกุมใดๆ ถ้าหากเป็นความผิดซึ่งยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัวและความผิดนั้นผู้เสียหายตามกฎหมายไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์เอาไว้ (ความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ เป็นความผิดต่อส่วนตัว ต้องแจ้งความร้องทุกข์ก่อน ตำรวจจึงจะมีอำนาจจับ)
สรุป
1.จับร้านเกมส์ต้องแจ้งความร้องทุกข์ก่อน ตำรวจจึงจะมีอำนาจจับดูเวลาในบันทึกจับกุม กับเวลาที่ลงในบันทึกการแจ้งความ
2.ต้องจับในเวลากลางวัน
3.ถ้าตำรวจมาจับโดยไม่มีหมายจับ ต้องจับในขณะกระทำความผิดซึ่งหน้าคือจับขณะมีคนกำลังเล่นเกมส์ละเมิดลิขสิทธิอยู่เท่านั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นตำรวจมาแต่ไกล ให้รีบปิดสวิทซ์ไฟแล้วยกเครื่องที่เปิดเกมส์ละเมิดลิขสิทธิ์หนีไปเก็บไว้ในส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัย หรือใช้วิธีตามแต่ท่านจะคิดได้โดยเน้นว่าไม่ให้เป็นความผิดซึ่งหน้า
4.ค้นและจับได้เฉพาะในส่วนที่เป็นร้านเกมส์ ถ้าเป็นส่วนที่อยู่อาศัยก็ค้นและจับไม่ได้ต้องมีหมายค้นและหมายจับ
5.อย่าให้ยกเครื่องไป หรือให้ยกได้เฉพาะเครื่องที่ละเมิด ไม่ใช่ยกไปทั้งหมด ถ้ายกไปทั้งหมดผู้ยกมีความผิดตามกฎหมายอาญา
6.ราษฎรจับร้านเกมส์ไม่ได้ไม่ว่ากรณีใดๆ แม้ตำรวจจะขอให้ช่วยจับ ถ้าฝ่าฝืนราษฎรจะมีความผิดทางอาญา
7.แผ่นเกมส์ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเก็บไว้ในส่วนที่อยู่อาศัย เพราะจะค้นได้ต้องมีหมายค้น ถ้ามันฝ่าฝืนจะเข้าไปค้นทำการป้องกันได้ และฟ้องกลับได้ หรือ วิธีง่ายๆ ทำลายหักแผ่นทิ้ง ก็จบ ของที่ใช้การไม่ได้ ก็ไม่เป็นการละเมิด อ้างได้ว่า ลูกค้าหรือพวกล่อซื้อลิขสิทธิ์ มีเจตนาร้ายต่อผู้ประกอบการ เมื่อพบมีเจตนาบริสุทธิ์จึงทำลายเสีย หากซื้อบื้อจะจับก็อาจถูกฟ้องกลับ แบบหมดรูปได้
แถม ผู้ที่เข้ามาใช้บริการอินเตอร์เน็ต แล้วดาวโหลดเพลงมาที่โทรศัพย์หรือแฟลตไดร์เอง ต่อมาพวกรับมอบอำนาจเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์ ซึ่งได้วางแผนนี้มาก่อนแล้วรีบเข้ามาเจอ บอกว่า เรากระทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ แล้วก็ขู่ให้กลัว ปลอบให้ยินยอมความ เรียกเอาเงินชดใช้ค่าเสียหาย
ข้อกฎหมาย บัญญัติไว้ว่า ผู้ประกอบการมิใช่ผู้กระทำผิด ให้นำวีดีโอมาถ่ายบันทึกภาพและเสียงของพวกรับมอบอำนาจเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์ไว้ ถ้าจะสั่งสอนมันก็ให้โทรศัพท์ไปที่สน.ที่เกิดเหตุ แจ้งว่า มีเหตุกรรโชกทรัพย์ เราเป็นเจ้าทุกข์รออยู่ โดยไม่ต้องสนใจตำรวจที่มันพามา งานนี้โทรหานักข่าวด้วย ก็จะได้ฝังคนเลวๆแบบตอกฝาโลงได้เลย
อุทาหรณ์
นักนิติศาสตร์ทุกท่านไม่ว่า จะประกอบอาชีพ อาจารย์สอนกฎหมาย ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา
 ใจต้องมีมโนธรรม ใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรม บ้านเมืองก็สงบสุข 
ส่วน พวกรับมอบอำนาจเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์ ส่วนใหญ่ไม่ใช่นักกฎหมาย รู้ข้อกฎหมายปูๆปลาๆ อาศัยใจกล้า ใช้อำนาจผิดๆถูกๆ กับ คนที่ไม่รู้ข้อกฎหมาย สังคมไทยเลยเสื่อม.
รู้เขารู้เรา ใช้ข้อกฎหมายต่อสู้กัน ก็เสมือนว่า มีมีดคนละเล่ม
 อย่างที่ท่านชมวีดีโอตัวอย่างด้านซ้าย ร้านเกมส์เปิดเวลาทำการ ถือว่า เป็นที่สาธารณะ ประชาชนใครก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้ เมื่อ พวกรับมอบอำนาจเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์ จะเข้ามาขอตรวจค้น เจ้าของร้านบอกไม่ให้เข้า ให้ไปนำหมายค้นของศาลมา ข้อความตรงนี้สำคัญเพราะ 1. ข้อกฎหมายว่า ต้องกระทำความผิดสำเร็จ ไปแจ้งความ นำหมายจับมาจับตัวได้ แต่ค้นไม่ได้ถ้าไม่มีหมายค้น 2. จับได้ถ้าเป็นความผิดซึ่งหน้า 3. เจ้าของร้านลั่นวาจาว่า ไม่อนุญาตให้เข้าร้าน พวกรับมอบอำนาจเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์ก็หมดมุขหมดปัญญาทำอะไรเราแล้ว  สังเกตุดีๆ ตำรวจรู้ข้อกฎหมายที่มาด้วยยังไม่อยากเสี่ยงเข้าค้นเลย เพราะ กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นความผิดต่อตัวต่อบุคคล คดีสามารถยอมความได้ เมื่อตำรวจยังไม่เสี่ยงเข้าค้นหนังชีวิตก็จบ ส่วนชายที่จะขอเข้าค้นก็ไม่กล้าแสดงตน เพราะ กลัวเหมือนกันว่า ถ้ากระทำพลาดไปเข้าข่ายผิดกฎหมาย ข้อหากรรโชกทรัพย์ ก็จะโดนเจ้าของร้านสวนแจ้งความกลับ สรุป งานนี้ชายคนนั้นรีบหายตัวไป ส่วนวีดีโอตัวอย่างด้านขวา เจ้าของร้านต่อสู้ใช้สิทธิตามกฎหมายเบื้องต้นทุกประการ
ถ้ากรณีรู้ว่า พวกนี้จะมาก่อกวน วิธีหลีกเลี่ยง 1. ปิดร้าน 2. ปิดไม่ทันก็ทำป้ายแขวน ข้อความว่า ร้านปิด หรือ หยุด 1 วัน 3. ปิดไม่ทัน ไม่มีป้าย ดับไฟทั้งร้านถอดฟิวส์ออก 4. หาคนมาแทนเราว่า เป็นผู้จัดการร้าน 
5. พวกที่กล้ามากทั้งตำรวจ ทั้งพวกขยะ กล้าเข้ามาค้น ก็ไม่ต้องลงชื่อใดๆ ในเอกสารที่พวกมันเขียนขึ้นมาหรือนำมา รวมทั้งคนในร้านก็ไม่ต้องลงชื่อใดๆเพื่อจะเป็นพยานการกระทำของพวกมัน โดยอ้างว่า ต้องพบกับผู้รู้กฎหมายหรือทนายก่อน เลือกวิธีเอาตามเหตุการณ์ 
สำคัญ กรณีมีหมายค้นของศาล ต้อระบุ วัน เวลา ผู้ขอหมาย เรื่องที่ค้นเกี่ยวกับอะไร สถานที่บ้านเลขที่ตรงไหม ศาลท่านจะระบุหมด อ่านให้ดีถ้าไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ก็เข้าค้นไม่ได้ เราสามารถกำหนดให้เข้ามาค้น สัก 2-3 คนได้ มิใช่มันเข้ามาเป็นกองทัพ ป้องกันการกลั่นแกล้ง เราสามารถเรียกใครก็ได้มากันเยอะๆมาเป็นเพื่อนเราและเราสามารถถ่ายวีดีโอการกระทำของทุกคนได้เป็นสิทธิตามกฎหมาย เมื่อค้นเสร็จ ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย ตำรวจต้องให้เราลงชื่อรับทราบ ข้อกฎหมายบัญญัติว่า เมื่อตำรวจตรวจค้นเสร็จ ต้องถ่ายสำเนาหมายค้นของศาลให้กับเจ้าของบ้านหรือคนในบ้านเราที่นำตำรวจเข้าค้น 1 ฉบับ ถ้าไม่ให้หรือประมาทลืม มีความผิดตามกฎหมาย ให้เราเข้าร้องทุกข์กับสำนักงานอัยการในวันรุ่งขึ้นทันที จะมีหน่วยงานที่เรียกว่า ให้คำปรึกษษข้อกฎหมายกับประชาชน พานักข่าวไปด้วย เมื่อได้รับคำแนะนำว่าจะทำอย่างไร ก็ไปสน.เข้าแจ้งความกล่าวหา ตำรวจชุดเข้าค้นว่า ละการปฎิบัติหน้าที่ ม. 157  ห้ามไปร้องตำรวจก่อนเพราะ ตำรวจจะแก้เกมส์ว่า ถ่ายสำเนามาแล้ว ลืมแล้วรีบมาให้ หรือ ถ้าข้ามวันอ้างลืมไม่ได้ ก็จะมีนายตำรวจมาขอร้องให้ยอมกัน โดยอ้างเป็นเรื่องเล็กน้อย ความจริงเป็นเรื่องใหญ่โทษถึงออกจากราชการ แล้วมีโทษจำคุกเป็นเดิมพัน...