บทความ คนดูไบคำรามสักวันผมมาจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน กฎหมายนี้ถ้าแก้ไขแล้ว ต่อไปพรรคการเมืองของรัฐบาลกระทำการทุจริต โกงกิน กระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประชาชนจะไปฟ้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ ต้องไปเสนอต่อสนง.อัยการสูงสุด ถ้าท่านอัยการสูงสุดเป็นขี้ข้ารัฐบาล ผล ความผิดที่รัฐบาลทำก็จะจบและเงียบหายไปโดยชอบด้วยกฎหมาย สรุป รัฐบาลที่โกงชาติแก้กฎหมายนี้เสร็จก็ใหญ่สุดแล้ว ทุจริตอะไรกฎหมายที่มีใช้ก็ไปไม่ถึง!
มาตรา ๖๘ (วรรคหนึ่ง) "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ... มิได้" มาตรา ๖๘ (วรรคสอง) "ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทําการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทําดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดําเนินคดีอาญาต่อผูกระทําการดังกล่าว” ๑.ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทําการตามวรรคหนึ่ง ๒.ผู้ทราบการกระทําดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบขอเท็จจริงและยื่นคํารองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าว .....นี่คือลายลักษณ์อักษร แห่งรัฐธรรมนูญ ว่าไว้ชัดแล้ว ถ้าเป็นอย่างที่ท่านนักแก้รัฐธรรมนูญต้องการ ก็ต้องมีลายลักษณ์อักษร ว่า ........."เมื่อเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและอัยการสูงสุดได้ความจากการตรวจสอบข้อเท็จริงว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อวรรคหนึ่งจริง ก็ให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องหรือคำฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ผู้กระทำยุติการกระทำดังกล่าวต่อไป"......แต่รัฐธรรมนูญ ไม่ได้บัญญัติอย่างนี้.....ท่านจะเดินไปที่อัยการสูงสุดทางเดียวไม่ได้.....ท่านก็จำจะต้องเคารพลายลักษณ์อักษรแห่งรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติวรรคสอง กล่าวไว้ชัด ด้วยคำว่า....."ย่อมมีสิทธิ".....ฉะนั้น ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง....."ย่อมมีสิทธิ"..... ๒ ประการ ในเวลาเดียวกัน คือ.....สิทธิประการที่ ๑.คือ "สิทธิที่จะเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง".....และสิทธิประการที่ ๒.คือ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว.....คำว่าสิทธิไม่ใช่หน้าที่.....สิทธิ.....ใช้ก็ได้.....ไม่ใช้ก็ได้.....หรือ......เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ .....เจ้าของสิทธิตามรัฐธรรมนูญวรรคสอง คือใคร?.....ตอบว่า คือ ประชาชนชาวไทยทุกคนที่พบเห็นหรือทราบการกระทำ.....ถ้าเจ้าของสิทธิ......ไปแจ้งต่ออัยการสูงสุด ก็เป็นทำนองเดียวกับการร้องทุกข์กล่าวโทษในทางอาญา อัยการสูงสุดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ท่านจะตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือท่านจะเพิกเฉยในหน้าที่ ท่านก็รู้อยู่แก่ใจดี.....ถ้าเจ้าของสิทธิ.....ไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ ท่านจะสั่งการอย่างไร ท่านก็รู้หน้าที่ของท่านอยู่ เช่นเดียวกัน เพราะท่านทำของท่านอยู่แล้ว คือตราบใดที่ยังไม่มีวิธีพิจารณาในลักษณะเฉพาะเรื่องนี้ ศาลท่านก็หยิบยกเอามาตรา ๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้กับเรื่องนี้เพื่อวินิจฉัยสั่งการ ซึ่งถูกต้องตามหลักกฎหมาย
มาตรา ๖๘ (วรรคหนึ่ง) "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ... มิได้" มาตรา ๖๘ (วรรคสอง) "ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทําการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทําดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดําเนินคดีอาญาต่อผูกระทําการดังกล่าว” ๑.ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทําการตามวรรคหนึ่ง ๒.ผู้ทราบการกระทําดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบขอเท็จจริงและยื่นคํารองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าว .....นี่คือลายลักษณ์อักษร แห่งรัฐธรรมนูญ ว่าไว้ชัดแล้ว ถ้าเป็นอย่างที่ท่านนักแก้รัฐธรรมนูญต้องการ ก็ต้องมีลายลักษณ์อักษร ว่า ........."เมื่อเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและอัยการสูงสุดได้ความจากการตรวจสอบข้อเท็จริงว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อวรรคหนึ่งจริง ก็ให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องหรือคำฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ผู้กระทำยุติการกระทำดังกล่าวต่อไป"......แต่รัฐธรรมนูญ ไม่ได้บัญญัติอย่างนี้.....ท่านจะเดินไปที่อัยการสูงสุดทางเดียวไม่ได้.....ท่านก็จำจะต้องเคารพลายลักษณ์อักษรแห่งรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติวรรคสอง กล่าวไว้ชัด ด้วยคำว่า....."ย่อมมีสิทธิ".....ฉะนั้น ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง....."ย่อมมีสิทธิ"..... ๒ ประการ ในเวลาเดียวกัน คือ.....สิทธิประการที่ ๑.คือ "สิทธิที่จะเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง".....และสิทธิประการที่ ๒.คือ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว.....คำว่าสิทธิไม่ใช่หน้าที่.....สิทธิ.....ใช้ก็ได้.....ไม่ใช้ก็ได้.....หรือ......เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ .....เจ้าของสิทธิตามรัฐธรรมนูญวรรคสอง คือใคร?.....ตอบว่า คือ ประชาชนชาวไทยทุกคนที่พบเห็นหรือทราบการกระทำ.....ถ้าเจ้าของสิทธิ......ไปแจ้งต่ออัยการสูงสุด ก็เป็นทำนองเดียวกับการร้องทุกข์กล่าวโทษในทางอาญา อัยการสูงสุดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ท่านจะตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือท่านจะเพิกเฉยในหน้าที่ ท่านก็รู้อยู่แก่ใจดี.....ถ้าเจ้าของสิทธิ.....ไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ ท่านจะสั่งการอย่างไร ท่านก็รู้หน้าที่ของท่านอยู่ เช่นเดียวกัน เพราะท่านทำของท่านอยู่แล้ว คือตราบใดที่ยังไม่มีวิธีพิจารณาในลักษณะเฉพาะเรื่องนี้ ศาลท่านก็หยิบยกเอามาตรา ๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้กับเรื่องนี้เพื่อวินิจฉัยสั่งการ ซึ่งถูกต้องตามหลักกฎหมาย