การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ความสำคัญของการเลือกตั้ง สส
การเลือกตั้ง ส.ส. มีความสำคัญต่อคนไทยทุกคนที่ต้องไปทำหน้าที่เพื่อมอบอำนาจอธิปไตยของเราโดยการเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์และดูแลทุกข์สุขของประชาชน รวมทั้งบริหารงบประมาณของประเทศชาติถึงปีละหนึ่งล้านล้านบาท
ดังนั้น การเลือกผู้แทนที่เป็น “คนดี” มีความซื่อสัตย์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนให้เข้าไปทำงานทางการเมืองเราจะทำให้สามารถใช้งบประมาณทุกบาททุกสตางค์ที่มาจากเงินภาษีของประชาชนไปพัฒนาประเทศชาติได้อย่างเต็มที่
ที่มาของ สส
ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ ได้แก่
สส แบบแบ่งเขต ส.ส. แบบแบ่งเขต
มีจำนวน 375 คน คือ ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศออกเป็น 375 เขต ในแต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้ 1 คน ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.
สส แบบสัดส่วน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
มีจำนวน 125 คน คือ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้เพียงบัญชีเดียว เรียงลำดับจำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ รายชื่อใครจะอยู่ลำดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคจะดำเนินการ การเลือกตั้งแบบนี้ถือประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อชุดเดียวกัน
หน้าที่ของ สส
ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
เป็นผู้เลือก ส.ส. ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
จัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศ
นำปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนเสนอรัฐบาล
คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สส
มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
ลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
อยู่ในระหว่างถูกเพิงถอนสิทธิการเลือกตั้ง
ต้องคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยตคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน หรือไม่สมประกอบ
การลงคะแนนล่วงหน้า (ประกาศ 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง)
ลงคะแนนนอกจังหวัด
ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่คนละจังหวัดกับทะเบียนบ้านหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปัจจุบันไม่ถึง 90 วัน สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัดที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ได้ แต่ต้องยืนคำขอลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน จึงจะมีสิทธิ
กรณีเขตเลือกตั้งใดมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. แทนตำแหน่งที่ว่าง หรือมีการเลือกตั้งใหม่ บุคคลผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิดังกล่าวก็สามารถเดินทางกลับไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้
ลงคะแนนในจังหวัด
ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านตามทะเบียนบ้าน แต่ในวันเลือกตั้งต้องเดินทางออกนอกเขตไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ก็สามารถไปแสดงตนเพื่อขอลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้งได้ ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง โดยต้องยื่นคำขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิดังกล่าวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่ กกต. กำหนด
เตรียมตัวก่อนไปเลือกตั้ง
การตรวจสอบรายชื่อ
20 วันก่อนวันเลือกตั้ง ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ที่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการเขต ที่ทำการ อบต. สำนักงานเทศบาล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หรือเขตชุมชน
15 วันก่อนวันเลือกตั้ง ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้ะที่เลือกตั้งจากหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน (ส.ส.12)
การเพิ่มชื่อ - ถอนชื่อ
ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน หากเห็นว่าไม่มีชื่อตนเองหรือมีชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้แจ้งนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยนำหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้มาแสดงด้วย
การแจ้งเหตุที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้
ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน ขอรับแบบ ส.ส. 28 หรือทำหนังสือชี้แจงเหตุที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ และให้ระบุเลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
ยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น
ด้วยตนเอง
มอบหมายผู้อื่นหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ผู้ที่มีเหตุทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้
ผู้มีธุรกิจจำเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
ผู้ป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
ผู้พิการหรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ผู้มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
ผู้ประสบเหตุสุดวิสัย เช่น อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ
หลักฐานที่ใช้ในการเลือกตั้ง
บัตรประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
บัตรหรือหลักฐานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้มีรูปถ่ายและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เช่น
บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ใบขับขี่
หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต)
การอำนวยความสะดวกผู้พิการที่มีสิทธิเลือกตั้ง
คณะกรรมการเลือกตั้ง ได้จัดให้มีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้พิการใช้สิทธิเลือกตั้งได้สะดวกขึ้น โดยคอยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ซึ่งการช่วยเหลือนั้นต้องให้ผู้พิการได้ลงคะแนนด้วยตัวเองด้วย เช่น จัดให้มีบัตรทาบในการลงคะแนนสำหรับผู้พิการทางสายตา อำนวยความสะดวกในกานหย่อนบัตรในหีบบัตรเลือกตั้ง ฯลฯ
ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง
ตรวจสอบรายชื่อ ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้สิทธิเลือกตั้งที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง
ยื่นบัตรประชาชน ยื่นบัตรประชาชนและลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาบนต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง พร้อมรับบัตร 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ถ้าเป็นการเลือกตั้งซ่อมจะมีเฉพาะบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตใบเดียว)
ทำเครื่องหมายกากบาท เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทำเครื่องหมาย
บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต เลือกผู้สมัครเพียงหมายเลขเดียว
บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เลือกพรรคการเมืองเพียงหมายเลขเดียว
หากไม่ต้องการเลือกใครหรือพรรคการเมืองใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่ลงคะแนน
หย่อนบัตรด้วยตนเอง เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งให้เรียบร้อยและหย่อนบัตรลงในหีบ บัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง
คนดีที่ควรเลือกเป็น สส ควรมีลักษณะ เช่น
มีประวัติการทำงานหรือผลงานที่ผ่านมาดีและเป็นที่ยอมรับ
มีคุณธรรมและรู้จักเสียสละ
เข้าถึงประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข โดยเสนอเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
เป็นแบบอย่างของการรู้จักรักษาประโยชน์ของส่วนรวมไม่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง เช่น แจกเงินหรือสิ่งของเพื่อให้ผู้ใดลงคะแนนให้ตนเอง หรือไม่ลงคะแนนให้กับผู้สมัครอื่น หรือพรรคอื่นๆ
พรรคการเมืองที่ดี ควรมีลักษณะ เช่น
มีนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติให้เป็นจริงได้
ระบบบริหารของพรรคยึดหลักการประชาธิปไตย
มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
เป็นพรรคที่รวมคนทุกกลุ่มในสังคมเป็นสมาชิกไม่ใช่ยึดติดเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
การนับคะแนน
เมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนในเวลา 15.00 น. ของวันเลือกตั้งแล้ว จะนับคะแนน ณ ที่เลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จสิ้นในรวดเดียว เพื่อ
ป้องกันการทุจริตเลือกตั้งที่อาจเกิดจากการขนย้ายหีบบัตร
ให้การนับคะแนนเสร็จสิ้น และสามารถประกาศผลการเลือกตั้งได้รวดเร็ว
หลังจากนั้น กกต.เขต จะรวบรวมผลการนับคะแนนของทุกหน่วยเลือกตั้งภายในเขต และประกาศผลรวมคะแนนของเขตและปิดประกาศไว้ในสถานที่ที่กำหนด พร้อมรายงานต่อ กกต.ประจำจังหวัด และรายงานต่อ กกต. เพื่อประกาศและรับรองผลการเลือกตั้ง
การคัดค้านการเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่งยื่นคัดค้านต่อ กกต. โดย
ก่อนวันการประกาศผลการเลือกตั้ง หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง กรณีเห็นว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง กรณีเห็นว่าผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเกินจำนวนที่ กกต. กำหนด หรือผู้สมัครไม่ยื่นบัญชีรายรับ-รายจ่าย ภายใน 90 วันหลังวันเลือกตั้ง
การเสียสิทธิ 3 ประการ
ผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่ได้แจ้งเหตุอันสมควรจะเสียสิทธิ ดังนี้
สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.
สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
สิทธิทั้ง 3 ประการ จะได้กลับคืนมาก็ต่อเมื่อไปใช้สิทธิการเลือกตั้งอย่างใดอย่างหนึ่งในการเบือกตั้งครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับชาติหรือท้องถิ่น
ข้อห้าม
ห้ามซื้อเสียง หรือจัดเตรียมซื้อเสียง
ห้ามรับเงินและประโยชน์อื่นใด เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง
ห้ามส่งเสียงและห้ามขายหรือจัดเลี้ยงสุรา ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
ห้ามนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิของลูกจ้าง
ห้ามขัดขวางหรือหน่วงเหนี่ยวมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง
ห้ามจัดยานพาหนะ (ยกเว้นหน่วยงานรัฐ) ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปเลือกตั้ง โดยไปต้องเสียค่าโดยสาร
ห้ามทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดอย่างจงใจ
ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนเองได้ลงคะแนนแล้วด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆ
ห้ามเล่นการพนันขันต่อใดๆ เกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง
ห้ามเปิดเผยหรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง (โพลล์) ในระหว่างเวลา 7 วันก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง
ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นสาระแห่งชาติ
รัฐบาลประกาศให้ การแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากการทุจริตเลือกตั้งส่งผลเสียหายโดยรวมต่อประเทศชาติของเรา เช่น
ต้องสูญเสียงบประมาณ ซึ่งมาจากเงินภาษีของประชาชนในการจัดการเลือกตั้งใหม่
ส.ส. ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปจากการทุจริตเลือกตั้งอาจเข้าไปโกงเงินภาษีของประชาชนเพื่อถอนทุนคืน
การมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุ
เมื่อพบเห็นการทุจริตเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงิน สิ่งของ หรือมีการเรียกรับเงิน หรือทรัพย์สิน ให้ช่วยกันแจ้งเบาะแส หรือรวบรวมหลักฐานการทุจริตแจ้งต่อตำรวจในพื้นที่หรือรายงานให้ กกต. ทราบ
ด้วยตัวเอง
ทางโทรศัพท์ หมายเลข 0-2143-8668 , 0-2141-8888