การประกันตัวผู้ต้องหา/จำเลย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ผู้มีสิทธิขอประกัน ผู้ที่มีสิทธิยื่นขอประกันได้ คือ ผู้ต้องหา/จำเลยหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ผู้มีอำนาจให้ปล่อยชั่วคราว หัวหน้าพนักงานสอบสวน หัวหน้าพนักงานอัยการหรือหัวหน้าศาล
3. สถานที่ที่ติดต่อ
1. เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวน หากส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการ ให้ยื่นต่อพนักงานอัยการ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดตาก ที่รับสำนวน
2. เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อศาล
3. เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
4. เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาชั้นศาลต้นหรือศาลอุทธรณ์ ไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
5. เมื่อศาลส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้นหรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีก็ได้
4. หลักประกันที่จะนำมาขอประกัน หลักประกันที่จะนำมายื่นขอประกันมี 3 ชนิด คือ
1. มีเงินสดมาวาง
2. มีหลักทรัพย์อื่นมาวาง
3. มีบุคคลมาเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์
5. การขอถอนประกัน ในกรณีที่นายประกันมีความประสงค์จะขอถอนสัญญาประกัน หรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้โดยผู้ทำสัญญาประกันมอบตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงาน อัยการ หรือเมื่อฟ้องต่อศาลแล้ว ให้ส่งมอบจำเลยคืนต่อศาล
6. หน้าที่และความรับผิดของนายประกัน เมื่อนายประกันได้ยื่นคำขอประกันและ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หรือศาล ได้มีคำสั่งอนุญาตและปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยแล้ว มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
- นายประกันเมื่อทราบนัดแล้ว มีหน้าที่ต้องนำตัวผู้ต้องหามามอบให้แก่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลเพื่อฟังคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นๆ หากได้รับทราบนัดแล้ว ต่อมามีเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถมาตามนัดจะต้องติดต่อก่อนวันนัด เพื่อขอเลื่อนนัดพร้อมแจ้งเหตุขัดข้อง
- เมื่อผิดสัญญา นายประกันจะต้องรับผิดชดใช้เงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
- หน้าที่ของนายประกันเป็นเรื่องเฉพาะตัว หากผู้ประกันตายก่อนผิดสัญญาประกัน สัญญาประกันก็ระงับความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ตกทอดไปยังทายาท
7. สิทธิของนายประกันเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนี
- นายประกันอาจขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุดจับผู้ต้องหา หรือจำเลยได้
- ถ้าไม่สามารถจะขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานได้ทันท่วงที ก็ให้มีอำนาจจับผู้ต้องหา หรือจำเลยนั้นได้เอง แล้วส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่ใกล้ที่สุด
- จะต้องเสียค่ายานพาหนะ เมื่อเจ้าพนักงานจัดส่งผู้ต้องหา หรือจำเลยไปยังเจ้าพนักงานหรือศาล
- ผู้ประกันมีสิทธิร้องขอให้หัวหน้าพนักงานสอบสวน หัวหน้าพนักงานอัยการ หรือหัวหน้าศาลลดค่าปรับได้ เมื่อผิดสัญญาประกัน
8. การขอคืนหลักประกัน นายประกันมีสิทธิขอหลักประกันคืน ได้ดังนี้
- เมื่อมอบตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
- เมื่อคดีถึงที่สุด หรือความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไป เช่น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบ เป็นต้น
9. หลักฐานในการขอประกัน
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ ของนายประกันและคู่สมรส (หากมี)
2. สำเนาทะเบียนบ้านของนายประกัน และคู่สมรส (หากมี)
3. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสหรือสำเนาใบสำคัญการหย่า หรือสำเนาใบมรณบัตร
10. หลักทรัพย์ในการขอประกันตัว
- โฉนดที่ดิน, น.ส. 3 ก. หรือ น.ส.3
- เงินสด,พันธบัตรรัฐบาล,สลากออมสิน
- สมุดเงินฝากประจำ
- ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย
- เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย
- หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
11. เอกสารประกอบเพิ่มเติม
- หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน
- หนังสือรับรองยอดเงินฝากคงเหลือ (กรณีใช้สมุดเงินฝาก)
- กรณีใช้บุคคลเป็นประกัน ต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่งระดับ และอัตราเงินเดือน (เฉพาะของศาลจะต้องระบุว่า ปัจจุบันเงินเดือนคงเหลืออยู่เท่าไร)
12. กรณีใช้หลักประกันเดิม
- มีการวางเงินสด หรือหลักทรัพย์อื่นเป็นประกันต่อพนักงานสอบสวน และยังไม่ได้รับหลักประกันคืน
- พนักงานอัยการเห็นสมควรถือว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันชั้นพนักงานสอบสวน
13. การใช้ตำแหน่งบุคคลเป็นประกัน
2. ผู้มีอำนาจให้ปล่อยชั่วคราว หัวหน้าพนักงานสอบสวน หัวหน้าพนักงานอัยการหรือหัวหน้าศาล
3. สถานที่ที่ติดต่อ
1. เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวน หากส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการ ให้ยื่นต่อพนักงานอัยการ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดตาก ที่รับสำนวน
2. เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อศาล
3. เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
4. เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาชั้นศาลต้นหรือศาลอุทธรณ์ ไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
5. เมื่อศาลส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้นหรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีก็ได้
4. หลักประกันที่จะนำมาขอประกัน หลักประกันที่จะนำมายื่นขอประกันมี 3 ชนิด คือ
1. มีเงินสดมาวาง
2. มีหลักทรัพย์อื่นมาวาง
3. มีบุคคลมาเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์
5. การขอถอนประกัน ในกรณีที่นายประกันมีความประสงค์จะขอถอนสัญญาประกัน หรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้โดยผู้ทำสัญญาประกันมอบตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงาน อัยการ หรือเมื่อฟ้องต่อศาลแล้ว ให้ส่งมอบจำเลยคืนต่อศาล
6. หน้าที่และความรับผิดของนายประกัน เมื่อนายประกันได้ยื่นคำขอประกันและ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หรือศาล ได้มีคำสั่งอนุญาตและปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยแล้ว มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
- นายประกันเมื่อทราบนัดแล้ว มีหน้าที่ต้องนำตัวผู้ต้องหามามอบให้แก่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลเพื่อฟังคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นๆ หากได้รับทราบนัดแล้ว ต่อมามีเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถมาตามนัดจะต้องติดต่อก่อนวันนัด เพื่อขอเลื่อนนัดพร้อมแจ้งเหตุขัดข้อง
- เมื่อผิดสัญญา นายประกันจะต้องรับผิดชดใช้เงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
- หน้าที่ของนายประกันเป็นเรื่องเฉพาะตัว หากผู้ประกันตายก่อนผิดสัญญาประกัน สัญญาประกันก็ระงับความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ตกทอดไปยังทายาท
7. สิทธิของนายประกันเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนี
- นายประกันอาจขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุดจับผู้ต้องหา หรือจำเลยได้
- ถ้าไม่สามารถจะขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานได้ทันท่วงที ก็ให้มีอำนาจจับผู้ต้องหา หรือจำเลยนั้นได้เอง แล้วส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่ใกล้ที่สุด
- จะต้องเสียค่ายานพาหนะ เมื่อเจ้าพนักงานจัดส่งผู้ต้องหา หรือจำเลยไปยังเจ้าพนักงานหรือศาล
- ผู้ประกันมีสิทธิร้องขอให้หัวหน้าพนักงานสอบสวน หัวหน้าพนักงานอัยการ หรือหัวหน้าศาลลดค่าปรับได้ เมื่อผิดสัญญาประกัน
8. การขอคืนหลักประกัน นายประกันมีสิทธิขอหลักประกันคืน ได้ดังนี้
- เมื่อมอบตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
- เมื่อคดีถึงที่สุด หรือความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไป เช่น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบ เป็นต้น
9. หลักฐานในการขอประกัน
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ ของนายประกันและคู่สมรส (หากมี)
2. สำเนาทะเบียนบ้านของนายประกัน และคู่สมรส (หากมี)
3. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสหรือสำเนาใบสำคัญการหย่า หรือสำเนาใบมรณบัตร
10. หลักทรัพย์ในการขอประกันตัว
- โฉนดที่ดิน, น.ส. 3 ก. หรือ น.ส.3
- เงินสด,พันธบัตรรัฐบาล,สลากออมสิน
- สมุดเงินฝากประจำ
- ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย
- เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย
- หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
11. เอกสารประกอบเพิ่มเติม
- หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน
- หนังสือรับรองยอดเงินฝากคงเหลือ (กรณีใช้สมุดเงินฝาก)
- กรณีใช้บุคคลเป็นประกัน ต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่งระดับ และอัตราเงินเดือน (เฉพาะของศาลจะต้องระบุว่า ปัจจุบันเงินเดือนคงเหลืออยู่เท่าไร)
12. กรณีใช้หลักประกันเดิม
- มีการวางเงินสด หรือหลักทรัพย์อื่นเป็นประกันต่อพนักงานสอบสวน และยังไม่ได้รับหลักประกันคืน
- พนักงานอัยการเห็นสมควรถือว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันชั้นพนักงานสอบสวน
13. การใช้ตำแหน่งบุคคลเป็นประกัน
ตำแหน่ง | หลักประกัน |
ข้าราชการพลเรือนระดับ 3-5 หรือเทียบเท่า | ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท |
ข้าราชการพลเรือนระดับ 6-8 หรือเทียบเท่า | ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท |
ข้าราชการพลเรือนระดับ 9-11 หรือเทียบเท่า | ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท |
ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 สมาชิกรัฐสภา, ข้าราชการการเมืองและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 800,000 บาท |
ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป, สมาชิกสภากรุงเทพมหานครสจ.,สท.,สข., อบต.,กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน | ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท |