วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
การประกันตัวผู้ต้องหา/จำเลย
การประกันตัวผู้ต้องหา/จำเลย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ผู้มีสิทธิขอประกัน ผู้ที่มีสิทธิยื่นขอประกันได้ คือ ผู้ต้องหา/จำเลยหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ผู้มีอำนาจให้ปล่อยชั่วคราว หัวหน้าพนักงานสอบสวน หัวหน้าพนักงานอัยการหรือหัวหน้าศาล
3. สถานที่ที่ติดต่อ
1. เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวน หากส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการ ให้ยื่นต่อพนักงานอัยการ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดตาก ที่รับสำนวน
2. เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อศาล
3. เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
4. เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาชั้นศาลต้นหรือศาลอุทธรณ์ ไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
5. เมื่อศาลส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้นหรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีก็ได้
4. หลักประกันที่จะนำมาขอประกัน หลักประกันที่จะนำมายื่นขอประกันมี 3 ชนิด คือ
1. มีเงินสดมาวาง
2. มีหลักทรัพย์อื่นมาวาง
3. มีบุคคลมาเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์
5. การขอถอนประกัน ในกรณีที่นายประกันมีความประสงค์จะขอถอนสัญญาประกัน หรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้โดยผู้ทำสัญญาประกันมอบตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงาน อัยการ หรือเมื่อฟ้องต่อศาลแล้ว ให้ส่งมอบจำเลยคืนต่อศาล
6. หน้าที่และความรับผิดของนายประกัน เมื่อนายประกันได้ยื่นคำขอประกันและ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หรือศาล ได้มีคำสั่งอนุญาตและปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยแล้ว มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
- นายประกันเมื่อทราบนัดแล้ว มีหน้าที่ต้องนำตัวผู้ต้องหามามอบให้แก่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลเพื่อฟังคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นๆ หากได้รับทราบนัดแล้ว ต่อมามีเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถมาตามนัดจะต้องติดต่อก่อนวันนัด เพื่อขอเลื่อนนัดพร้อมแจ้งเหตุขัดข้อง
- เมื่อผิดสัญญา นายประกันจะต้องรับผิดชดใช้เงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
- หน้าที่ของนายประกันเป็นเรื่องเฉพาะตัว หากผู้ประกันตายก่อนผิดสัญญาประกัน สัญญาประกันก็ระงับความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ตกทอดไปยังทายาท
7. สิทธิของนายประกันเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนี
- นายประกันอาจขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุดจับผู้ต้องหา หรือจำเลยได้
- ถ้าไม่สามารถจะขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานได้ทันท่วงที ก็ให้มีอำนาจจับผู้ต้องหา หรือจำเลยนั้นได้เอง แล้วส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่ใกล้ที่สุด
- จะต้องเสียค่ายานพาหนะ เมื่อเจ้าพนักงานจัดส่งผู้ต้องหา หรือจำเลยไปยังเจ้าพนักงานหรือศาล
- ผู้ประกันมีสิทธิร้องขอให้หัวหน้าพนักงานสอบสวน หัวหน้าพนักงานอัยการ หรือหัวหน้าศาลลดค่าปรับได้ เมื่อผิดสัญญาประกัน
8. การขอคืนหลักประกัน นายประกันมีสิทธิขอหลักประกันคืน ได้ดังนี้
- เมื่อมอบตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
- เมื่อคดีถึงที่สุด หรือความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไป เช่น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบ เป็นต้น
9. หลักฐานในการขอประกัน
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ ของนายประกันและคู่สมรส (หากมี)
2. สำเนาทะเบียนบ้านของนายประกัน และคู่สมรส (หากมี)
3. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสหรือสำเนาใบสำคัญการหย่า หรือสำเนาใบมรณบัตร
10. หลักทรัพย์ในการขอประกันตัว
- โฉนดที่ดิน, น.ส. 3 ก. หรือ น.ส.3
- เงินสด,พันธบัตรรัฐบาล,สลากออมสิน
- สมุดเงินฝากประจำ
- ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย
- เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย
- หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
11. เอกสารประกอบเพิ่มเติม
- หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน
- หนังสือรับรองยอดเงินฝากคงเหลือ (กรณีใช้สมุดเงินฝาก)
- กรณีใช้บุคคลเป็นประกัน ต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่งระดับ และอัตราเงินเดือน (เฉพาะของศาลจะต้องระบุว่า ปัจจุบันเงินเดือนคงเหลืออยู่เท่าไร)
12. กรณีใช้หลักประกันเดิม
- มีการวางเงินสด หรือหลักทรัพย์อื่นเป็นประกันต่อพนักงานสอบสวน และยังไม่ได้รับหลักประกันคืน
- พนักงานอัยการเห็นสมควรถือว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันชั้นพนักงานสอบสวน
13. การใช้ตำแหน่งบุคคลเป็นประกัน
2. ผู้มีอำนาจให้ปล่อยชั่วคราว หัวหน้าพนักงานสอบสวน หัวหน้าพนักงานอัยการหรือหัวหน้าศาล
3. สถานที่ที่ติดต่อ
1. เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวน หากส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการ ให้ยื่นต่อพนักงานอัยการ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดตาก ที่รับสำนวน
2. เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อศาล
3. เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
4. เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาชั้นศาลต้นหรือศาลอุทธรณ์ ไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
5. เมื่อศาลส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้นหรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีก็ได้
4. หลักประกันที่จะนำมาขอประกัน หลักประกันที่จะนำมายื่นขอประกันมี 3 ชนิด คือ
1. มีเงินสดมาวาง
2. มีหลักทรัพย์อื่นมาวาง
3. มีบุคคลมาเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์
5. การขอถอนประกัน ในกรณีที่นายประกันมีความประสงค์จะขอถอนสัญญาประกัน หรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้โดยผู้ทำสัญญาประกันมอบตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงาน อัยการ หรือเมื่อฟ้องต่อศาลแล้ว ให้ส่งมอบจำเลยคืนต่อศาล
6. หน้าที่และความรับผิดของนายประกัน เมื่อนายประกันได้ยื่นคำขอประกันและ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หรือศาล ได้มีคำสั่งอนุญาตและปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยแล้ว มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
- นายประกันเมื่อทราบนัดแล้ว มีหน้าที่ต้องนำตัวผู้ต้องหามามอบให้แก่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลเพื่อฟังคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นๆ หากได้รับทราบนัดแล้ว ต่อมามีเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถมาตามนัดจะต้องติดต่อก่อนวันนัด เพื่อขอเลื่อนนัดพร้อมแจ้งเหตุขัดข้อง
- เมื่อผิดสัญญา นายประกันจะต้องรับผิดชดใช้เงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
- หน้าที่ของนายประกันเป็นเรื่องเฉพาะตัว หากผู้ประกันตายก่อนผิดสัญญาประกัน สัญญาประกันก็ระงับความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ตกทอดไปยังทายาท
7. สิทธิของนายประกันเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนี
- นายประกันอาจขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุดจับผู้ต้องหา หรือจำเลยได้
- ถ้าไม่สามารถจะขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานได้ทันท่วงที ก็ให้มีอำนาจจับผู้ต้องหา หรือจำเลยนั้นได้เอง แล้วส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่ใกล้ที่สุด
- จะต้องเสียค่ายานพาหนะ เมื่อเจ้าพนักงานจัดส่งผู้ต้องหา หรือจำเลยไปยังเจ้าพนักงานหรือศาล
- ผู้ประกันมีสิทธิร้องขอให้หัวหน้าพนักงานสอบสวน หัวหน้าพนักงานอัยการ หรือหัวหน้าศาลลดค่าปรับได้ เมื่อผิดสัญญาประกัน
8. การขอคืนหลักประกัน นายประกันมีสิทธิขอหลักประกันคืน ได้ดังนี้
- เมื่อมอบตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
- เมื่อคดีถึงที่สุด หรือความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไป เช่น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบ เป็นต้น
9. หลักฐานในการขอประกัน
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ ของนายประกันและคู่สมรส (หากมี)
2. สำเนาทะเบียนบ้านของนายประกัน และคู่สมรส (หากมี)
3. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสหรือสำเนาใบสำคัญการหย่า หรือสำเนาใบมรณบัตร
10. หลักทรัพย์ในการขอประกันตัว
- โฉนดที่ดิน, น.ส. 3 ก. หรือ น.ส.3
- เงินสด,พันธบัตรรัฐบาล,สลากออมสิน
- สมุดเงินฝากประจำ
- ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย
- เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย
- หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
11. เอกสารประกอบเพิ่มเติม
- หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน
- หนังสือรับรองยอดเงินฝากคงเหลือ (กรณีใช้สมุดเงินฝาก)
- กรณีใช้บุคคลเป็นประกัน ต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่งระดับ และอัตราเงินเดือน (เฉพาะของศาลจะต้องระบุว่า ปัจจุบันเงินเดือนคงเหลืออยู่เท่าไร)
12. กรณีใช้หลักประกันเดิม
- มีการวางเงินสด หรือหลักทรัพย์อื่นเป็นประกันต่อพนักงานสอบสวน และยังไม่ได้รับหลักประกันคืน
- พนักงานอัยการเห็นสมควรถือว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันชั้นพนักงานสอบสวน
13. การใช้ตำแหน่งบุคคลเป็นประกัน
ตำแหน่ง | หลักประกัน |
ข้าราชการพลเรือนระดับ 3-5 หรือเทียบเท่า | ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท |
ข้าราชการพลเรือนระดับ 6-8 หรือเทียบเท่า | ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท |
ข้าราชการพลเรือนระดับ 9-11 หรือเทียบเท่า | ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท |
ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 สมาชิกรัฐสภา, ข้าราชการการเมืองและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 800,000 บาท |
ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป, สมาชิกสภากรุงเทพมหานครสจ.,สท.,สข., อบต.,กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน | ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท |
วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)